วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 3



หน่วยที่ 3
โรงเรือนและอุปกรณ์สัตว์ปีก
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
                โรงเรือนจัดเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของสัตว์ที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง การสร้างโรงเรือนที่ไม่ถูกแบบและไม่ถูกหลักสุขาภิบาลสัตว์จะมีผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของสัตว์ และการเจริญเติบโต
                1. ลักษณะของโรงเรือนที่ดี โรงเรือนที่ดีจะต้องยึดหลักการคุ้มค่า และสัตว์ต้องอยู่อย่างสุขสบาย ซึ่งสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.1 แข็งแรง ทนทาน สามารถกันลม แดด ฝน และอันตรายต่าง ๆ ให้กับสัตว์ได้
1.2 สามารถระบายอากาศได้ดี ภายในเย็นสบายแต่ไม่ถึงกับลมโกรก
1.3 สามารถกันพาหะนำโรคต่าง ๆ ได้ เช่น นก หนู แมว สุนัข เป็นต้น
1.4 ทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นที่น้ำขัง และดูสะอาดตา
1.5 ห่างจากบ้านพักของคนงานพอสมควรเพื่อความปลอดภัย
1.6 หากเป็นฟาร์มขนาดเล็กโรงเรือนควรมีราคาถูก สร้างได้ง่าย วัสดุที่ใช้ควรหาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้น แต่ถ้าฟาร์มขนาดใหญ่โรงเรือนควรมีความทันสมัย และมาตรฐานสามารถตอบสนองความต้องการของสัตว์และการเจริญเติบโตของสัตว์ได้อย่างคุ้มค่า
1.7 แยกออกเป็นอิสระต่อกันในแต่ละหลัง ห่างกันประมาณ 20-50 เมตร เพื่อลดปัญหาการติดต่อของเชื้อโรค
1.8 ความยาวของโรงเรือนอยู่ในแนวตะวันออก-ตก เพื่อหลีกเลี่ยงแดดร้อนจัด
2. รูปแบบและระบบของโรงเรือน รูปแบบของโรงเรือนแบ่งได้ตามลักษณะของหลังคา และแบ่งตามระบบโรงเรือนที่เหมาะสมกับประเทศไทยดังต่อไปนี้
2.1 โรงเรือนตามลักษณะหลังคา ได้แก่โรงเรือนแบบเพิงหมาแหงน แบบหน้าจั่ว และแบบหน้าจั่ว 2 ชั้น ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่นแบบเพิงหมาแหงน เป็นแบบที่สามารถสร้างได้ง่ายไม่ซับซ้อนและประหยัด แต่ฝนสาดได้ง่าย สำหรับแบบหน้าจั่ว 2 ชั้น เป็นแบบที่สร้างยาก ราคาค่อนข้างแพง แต่อากาศถ่ายเทได้ดีมากเป็นแบบที่นิยมสร้างกันมาก
2.2 ระบบของโรงเรือน แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ
2.2.1 ระบบโรงเรือนเปิด (open house) เป็นโรงเรือนที่พบได้โดยทั่วไปในฟาร์มสัตว์ปีก มีลักษณะเป็นโรงเรือนเปิดโล่งเพื่อการระบายอากาศที่ดี กรุด้วยลวดตาข่ายทั้ง 4 ด้านเพื่อป้องกันศัตรู เช่น หนู สุนัข ฯลฯ ด้านหน้าและด้านหลังอาจปิดทึบเพื่อเป็นทางเข้าออก ภายในมีลักษณะเป็นโรงยาว ความกว้างของโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 6 เมตร แต่ไม่เกิน 10 – 12 เมตร ความยาวขึ้นกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง โดยทั่วไปจะยาว 50 – 100 เมตร พื้นที่ในการเลี้ยงไก่เนื้อจะใช้ 8 - 10 ตัว/ตารางเมตร แต่ก็ขึ้นกับสภาพอากาศ ถ้าอากาศร้อน ควรลดจำนวนไก่ลง ถ้าโรงเรือนมีความยาวมากควรแบ่งกั้นเป็นช่อง แต่ละช่อง
ควรใส่ไก่ไม่เกิน 2000 ตัว หรือ 200 ตารางเมตร/ช่อง พร้อมประตูเปิด ระหว่างช่องและประตูเปิดออกด้านข้าง ช่องละ 1 ประตู และมีบริเวณที่เก็บอุปกรณ์และอาหารขนาด 4 x 10 เมตร อยู่ด้านหน้าโรงเรือน คอกไก่ที่เลี้ยงแน่นเกินไปไก่จะโตช้า มีขนาดไม่สม่ำเสมอ อ่อนแอเป็นโรคง่าย ปัจจุบันโรงเรือนแบบเปิดโล่งนั้น มักประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ฝนสาด อากาศร้อนจัด ลมโกรก การระบายอากาศ อุณหภูมิในโรงเรือนสูง ไก่จะโตช้า ผลผลิตลดลง มีแมลงรบกวน มีปัญหาการสุขาภิบาลป้องกันโรค ปัจจุบันรัฐบาลโดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ไม่แนะนำให้ใช้โรงเรือนแบบเปิดโล่ง แต่ควรจะเป็นโรงเรือนระบบปิดเนื่องจากป้องกันโรคได้ดีกว่า
รูปแบบโรงเรือนสัตว์ปีกแบบเปิด   
                รูปแบบและระบบของโรงเรือน รูปแบบของโรงเรือนแบ่งได้ตามลักษณะของหลังคา และแบ่งตามระบบโรงเรือนที่เหมาะสมกับประเทศไทยดังต่อไปนี้
                2.1 โรงเรือนตามลักษณะหลังคา ได้แก่โรงเรือนแบบเพิงหมาแหงน แบบหน้าจั่ว และแบบหน้าจั่ว 2 ชั้น ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่นแบบเพิงหมาแหงน เป็นแบบที่สามารถสร้างได้ง่ายไม่ซับซ้อนและประหยัด แต่ฝนสาดได้ง่าย สำหรับแบบหน้าจั่ว 2 ชั้น เป็นแบบที่สร้างยาก ราคาค่อนข้างแพง แต่อากาศถ่ายเทได้ดีมากเป็นแบบที่นิยมสร้างกันมาก
                ลักษณะและการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อใช้เลี้ยงไก่เนื้อมีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อเท่าที่มีการจัดสร้างในประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้
h6
1. แบบเพิงหมาแหงน จัดเป็นโรงเรือนที่สร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้ไม่ค่อยมีความทนทานเท่าที่ควร เนื่องจากจะถูกฝนและแดดอยู่เป็นประจำ
h2
 2. แบบหน้าจั่ว การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการจัดสร้างมากขึ้น รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่าแบบแรก แต่โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน
h3
3. แบบจั่วสองชั้น ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งนี้เพราะจั่วสองชั้นจะเป็นที่ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบายโดยไม่เกิดความเครียด
h4
4. แบบหน้าจั่วกลาย โรงเรือนแบบนี้มีคุณสมบัติดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน กันฝนได้ดีมากขึ้น แต่ค่าก่อสร้างจะสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน

h7
h1
h5
5. แบบเพิงหมาแหงนกลาย ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝนกันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือ ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่วกลาย


h9
h8
                                6. แบบหน้าจั่วสองชั้นกลาย


               










2.2.2 ระบบโรงเรือนปิด (evaporative cooling system houses) เป็นระบบการทำความเย็นใน โรงเรือนสัตว์ปีกที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย กำลังเป็นที่นิยมมาก โรงเรือนแบบปิดนี้สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ด้วยแผ่นรังผึ้ง และพัดลม (pad and fan cooling) โดยการบังคับให้อากาศเข้าไปในโรงเรือนโดยผ่านแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ชุ่มด้วยน้ำ จึงทำให้อุณหภูมิที่ผ่านเข้าไปนั้นจะลดลงและความชื้นจะสูงขึ้น









ภาพที่ 3.1 โรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิด ด้านหน้าเป็น พัดลมดูดอากาศ ด้านหลังเป็น แผ่นรังผึ้ง


การปรับสภาพอากาศภายในโรงเรือนระบบปิด เป็นหัวใจสำคัญของการเลียงไก่ในโรงเรือนระบบปิด ทั้งนี้เนื่องจากหากเราปรับสภาพอากาศให้คงที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไก่ จะทำให้ไก่อยู่สบาย กินอาหารและน้ำได้มากขึ้น ทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกเนื้อ ดีขึ้นอย่างน่าพอใจ ฝูงไก่เติบโตสม่ำเสมอกัน และทำให้สามารถเลี้ยงไก่ในพื้นที่ที่หนาแน่นมากขึ้น ทั้งยังเลี้ยงไก่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ที่ใช้แรงงานในการดูแลน้อยลดต้นทุนค่าแรงงานลงได้มาก
ลักษณะของการปรับสภาพอากาศภายในโรงเรือนระบบปิด ประกอบด้วย
1. การระบายอากาศ (Air Ventilation) การระบายอากาศ เป็นการหมุนเวียนอากาศด้วยพัดลมเพื่อนำอากาศร้อนที่เกิดจากตัวไก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซแอมโมเนียและความชื้นที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงไก่ ออกไปภายนอกโรงเรือน และดูดอากาศดีจากภายนอกเข้ามาในโรงเรือนทดแทนอากาศเสียที่ถูกขับออกไป









ภาพที่ 3.2 การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนระบบปิด
2. การปรับอุณหภูมิให้เย็นลงด้วยหลักการของระบบปิด( Evaporative Cooling System) โดยขณะที่ดูดอากาศออกจากโรงเรือน อากาศภายนอกจะผ่านแผ่นรังผึ้ง(คูลลิ่งแพด) ที่เปียกชุ่มน้ำ ทำให้เกิดการระเหยและทำความเย็นภายในโรงเรือน พัดลมดูดอากาศออกจากโรงเรือน แล้วอากาศภายนอกไหลเข้าไปแทนที่โดยผ่าน แผนรังผึ้ง






                                                                         





ภาพที่ 3.3 หลักการทำงานของระบบทำความเย็น
3. ระบบควบคุมการปรับอุณหภูมิ-ความชื้น(Temperature & Humidity Regulation) จะต้องใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อสั่งให้พัดลมทำงานหรือหยุดทำงาน และควบคุมการปล่อยน้ำให้กับแผ่นรังผึ้ง โดยมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นเพื่อปรับให้มีความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

อุปกรณ์ที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์ปีก
1. อุปกรณ์ให้อาหารมีหลายชนิด เช่น
1.1 รางอาหาร ส่วนมากใช่กับไก่ไข่ ความยาวของรางอาหารต่อตัวประมาณ 1-3 นิ้ว ขึ้นอยู่กับขนาดของไก่
1.2 ถังอาหารแขวน ใช้เมื่อไก่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใช้ถังอาหาร 3-4 ถังต่อไก่ 100 ตัว
1.3 ที่ให้อาหารอัตโนมัติไก่ นิยมใช้กับไก่ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรม มีจำนวนไก่มาก โดยการตั้งระบบการทำงานให้อาหารเดินทางตามท่อ ไหลลงในถังอาหารตามระยะห่างเหมาะสมกับการกินของไก่ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถปรับระยะสูงต่ำตามอายุไก่ ปัจจุบัน มี 2 รูปแบบคือแบบถัง และแบบราง        1.4 ถาดอาหาร ใช้สำหรับเลี้ยงไก่เล็กระยะกก อายุ 1-7 วัน ถาดอาหาร 1 ถาดสามารถใช้กับไก่ได้ประมาณ 70-100 ตัวหรืออาจดัดแปลงจากกล่องบรรจุลูกไก่ ใช้เป็นถาดอาหารได้ชั่วคราว 3-4 วัน







                                                ภาพที่ 3.4 ถาดอาหารลูกไก่

2. อุปกรณ์ให้น้ำไก่ แบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น
        2.1 ถังให้น้ำ ขนาด 1 ลิตร 4 ลิตร 8 ลิตร ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอายุของไก่ สำหรับถังน้ำลูกไก่มีลักษณะพิเศษคือฐานที่รองรับน้ำจะมีขอบสูงเพื่อป้องกันลูกไก่ลงไปเล่นน้ำ
                                2.2 ที่ให้น้ำอัตโนมัติ มี 2 ชนิด คือ แบบถังแขวน และแบบหยด(นิปเปิล) ซึ่งไก่จะจิกที่หัวนิปเปิลแล้วน้ำจะหยดออกมา สำหรับที่ให้น้ำอัตโนมัติแบบถังแขวนจะมีวาล์ว สามารถปรับจำนวนน้ำได้ตามความเหมาะสมของขนาด และจำนวนไก่
3. รังไข่ เป็นอุปกรณ์ที่ให้แม่ไก่เข้าไปไข่มีลักษณะมิดชิด ไก่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเข้าไปไข่ ด้านหน้ามีคอนเกาะให้ไก่พักก่อน เข้า-ออก รังไข่
4. อุปกรณ์ใช้กกลูกไก่ ประกอบด้วย
4.1 เครื่องกกลูกไก่ ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ เครื่องกกแบบไฟฟ้า และเครื่องกกแก๊ส ในฟาร์มที่เลี้ยงไก่เป็นการค้าปัจจุบันนิยมใช้เครื่องกกแบบกกแก๊ส เนื่องจากสามารถกกลูกไก่ได้จำนวนมากและไม่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ
                การใช้เครื่องกกแบบไฟฟ้านั้นจะมีเทอร์โมสแตท เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามความต้องการของไก่ แขวนสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนเครื่องกกแบบแก็สนั้นจะใช้วิธีการปรับระดับความแรงของแก็ส และความสูงต่ำของเครื่องกก หากต้องการกกลูกไก่จำนวนมากก็จะปรับระดับแก็สให ค่อนข้างแรงเล็กน้อยและยกให้สูงจากพื้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร
4.2 แผ่นกั้นกก อาจทำด้วยไม้อัดหรือแผ่นสังกะสี สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ล้อมเป็นวงกลมรอบเครื่องกก เพื่อจำกัดบริเวณให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่นอย่างทั่วถึง และป้องกันไม่ให้ลูกไก่ออกห่างที่กก ซึ่งทำให้ไม่ได้รับความอบอุ่น
5. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ปีก ได้แก่ ผ้าม่าน เครื่องตัดปากไก่ เครื่องฟักไข่ไฟฟ้า เครื่องพ่นยา เครื่องผสมอาหาร เครื่องคัดไข่ ฯลฯ











การทำความสะอาด และเตรียมโรงเรือน อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ปีก
การทำความสะอาดโรงเรือนสัตว์ปีก
การทำความสะอาดโรงเรือนเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนที่จะนำไก่เข้าเลี้ยง การทำความสะอาดนั้นมีขั้นตอนและวิธีการทำเพื่อให้โรงเรือนสะอาดที่สุดได้ดังนี้
1. นำอุปกรณ์เลี้ยงไก่ และวัสดุรองพื้นออกจากโรงเรือนให้หมด ใช้พลั่วตักวัสดุรองพื้นในโรงเรือนใส่รถขนไปทิ้งในบริเวณที่กำหนดภายนอกโรงเรือน ใช้ไม้กวาดกวาดหยากไย่ส่วนบนของโรงเรือน ฝาผนัง ตาข่ายและพื้นโรงเรือนให้สะอาด









ภาพที่ 3.5 ภายในโรงเรือนหลังจากนำวัสดุรองพื้นออก
2. ใช้สายยางฉีดน้ำทำความสะอาดให้ทั่วโรงเรือนทั้งภายนอกและภายใน แล้วใช้ผงซักฟอก หรือโซดาไฟทำความสะอาดโดยใช้แปรงถูพื้น ไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดถูพื้นให้สะอาด
                3. ใช้น้ำฉีดล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงให้สะอาดอีกครั้ง








ภาพที่ 3.6 ใช้น้ำแรงดันสูงฉีดพ่นทำความสะอาดโรงเรือน

4. นำอุปกรณ์การเลี้ยงทุกอย่างมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนทำการฆ่าเชื้อโรค

การฆ่าเชื้อโรคและแมลงโรงเรือนอุปกรณ์สัตว์ปีก
หลังการทำความสะอาดโรงเรือนขั้นตอนต่อไปคือการฆ่าเชื้อโรค และแมลงในโรงเรือนและอุปกรณ์ ก่อนที่จะนำไก่เข้าเลี้ยง มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้
                1. เตรียมอุปกรณ์พ่นยา โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด
                2. พ่นยาฆ่าเชื้อโรค และแมลงให้ทั่วทุกซอกมุมด้วยเครื่องพ่นแรงดันสูง ทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน
                3. พ่นยาฆ่าเชื้อโรค และแมลงกับอุปกรณ์ เช่นพื้นสแลท รังไข่ อุปกรณ์ให้อาหารและน้ำ ให้ทั่วทุกซอกมุมด้วยเครื่องพ่นแรงดันสูง
                4. ฟาร์มที่ไม่ใช้พื้นสแลท หลังจากพ่นยากับโรงเรือนและอุปกรณ์จนแห้งดีแล้ว นำวัสดุรองพื้นมาปูพื้นโรงเรือนหนา 2-3 นิ้ว แล้วพ่นยาฆ่าเชื้อโรคและแมลงอีกครั้งที่วัสดุรองพื้น แล้วพักโรงเรือนไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
การเตรียมความพร้อมโรงเรือนและอุปกรณ์สัตว์ปีก
หลังจากการล้างทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรคโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ปีก แล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ควรมีการตรวจสอบคุณภาพด้านความสะอาดปราศจากเชื้อโรคและแมลง และการตรวจสภาพความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์การเลี้ยงเพื่อการใช้งานต่อไป ดังนี้
1. ตรวจสอบสภาพทั่วไป โดยการสังเกตความสะอาดของโรงเรือนภายนอกภายในต้องไม่มีเศษวัสดุจำพวกมูลไก่ เศษขน ยักไย่ หลงเหลือภายในโรงเรือน ตลอดจนสังเกตแมลง จำพวก มด ปลวก แมลงวัน ยุง และแมลงปีกแข็งอื่น ๆ ภายในโรงเรือน
2. ตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โดยการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคที่อาจจะปนเปื้อนมากับวัสดุอุปกรณ์ เช่น พื้นโรงเรือน วัสดุปูพื้นโรงเรือน ถงอาหาร รางอาหาร รางน้ำ รังไข่ ฯลฯ
4. ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์เลี้ยงไก่ โดยเฉพาะเครื่องกกลูกไก่แบบใช้แก๊ส เพื่อหาจุดชำรุดของอุปกรณ์ ทดสอบการรั่วของแก๊ส บริเวณจุดต่อสายทุกจุด ตลอดจนทดสอบจุดไฟหัวกกแก๊สเพื่อเตรียมพร้อมก่อนลูกไก่เข้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น