หน่วยที่ 1
การตลาด และการวางแผนผลิตสัตว์ปีก
ตลาดสัตว์ปีกเป็นสถานที่รวบรวมแลกเปลี่ยน
ซื้อขาย สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีก
ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ ผู้ซื้อและผู้ขายได้แก่เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลาง
ผู้ประกอบการรายใหญ่ พ่อค้าคนกลางรวมถึงบริษัทผู้ส่งออก จำแนกเป็น
ตลาดไก่เนื้อ

ภาพที่ 1.1 ไก่เนื้อชำแหละระบบสายพาน
1. พ่อค้ารวบรวมไก่เนื้อ หมายถึง พ่อค้าประเภทต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ซื้อและรวบรวมไก่เนื้อมีชีวิต
1. พ่อค้ารวบรวมไก่เนื้อ หมายถึง พ่อค้าประเภทต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ซื้อและรวบรวมไก่เนื้อมีชีวิต
จากเกษตรกรผู้เลี้ยงโดยตรง
แล้วขายไปยังพ่อค้าคนอื่น ๆ
2. พ่อค้าขายส่งไก่เนื้อชำแหละ หมายถึง พ่อค้าคนกลางที่ทำหน้าที่ซื้อไก่เนื้อมีชีวิตจากเกษตรผู้เลี้ยงหรือพ่อค้ารวบรวมไก่เนื้อ
เพื่อนำมาชำแหละแล้วขายไปยังพ่อค้าปลีกไก่เนื้อชำแหละ
3.
พ่อค้าขายปลีกไก่เนื้อชำแหละ หมายถึง พ่อค้าที่ทำหน้าที่ซื้อไก่เนื้อมีชีวิตจากเกษตรผู้เลี้ยงหรือพ่อค้ารวบรวมไก่เนื้อเพื่อนำมาชำแหละหรือซื้อไก่เนื้อชำแหละจากพ่อค้าขายส่งไก่เนื้อชำแหละแล้วขายต่อให้ผู้บริโภค
4. พ่อค้ากรุงเทพฯ หมายถึง พ่อค้าที่ทำหน้าที่ซื้อไก่เนื้อมีชีวิตจากเกษตรผู้เลี้ยงหรือพ่อค้ารวบรวมไก่เนื้อในเขตกรุงเทพฯ
เพื่อนำมาชำแหละแล้วขายไปพ่อค้าขายส่งและพ่อค้าขายปลีกไกเนื้อ
5. เอเย่นต์บริษัทผลิตอาหารสัตว์ เป็นผู้ทำหน้าที่จำหน่ายอาหารสำเร็จรูปไก่เนื้อ
พันธุ์ไก่เนื้อ ยาและเวชภัณฑ์สัตว์ ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วไป และเป็นตัวกลางในการตกลงระหว่างผู้เลี้ยงแบบประกันราคากับบริษัทอาหารสัตว์
ตัวแทนดังกล่าวจะขายอาหารสัตว์ พันธุ์ไก่ และยาให้แก่ผู้เลี้ยงในรูปเงินเชื่อ เมื่อถึงกำหนดการขายไก่ตัวแทนขายอาหารต้องรับรู้เพราะต้องหักเงินที่ผู้เลี้ยงเป็นหนี้ไว้
6. บริษัทอาหารสัตว์ ทำหน้าที่ขายอาหารสำเร็จรูปไก่เนื้อ พันธุ์ไก่เนื้อ ยาและเวชภัณฑ์สัตว์
เพื่อการป้องกันและรักษาโรคระบาดให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงประเภทต่างๆ และรับซื้อไก่จากผู้เลี้ยงทั้งโดยตรงและโดยผ่านตัวแทนขายอาหารสัตว์
นอกจากนั้นบริษัทยังเข้าไปช่วยเหลือและให้การสนับสนุนแก่ผู้เลี้ยงตามโครงการจ้างเลี้ยงของบริษัทโครงการนี้ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยง
จนกระทั่งนำไก่ออกสู่ตลาด
ตลาดไข่ไก่
ธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
ขึ้นกับผู้เลี้ยงไก่ไข่ว่าจะสามารถขายไข่ได้ราคาดีมากเท่าไร ก็จะยิ่งได้รับความสำเร็จเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วตลาดไข่ไก่แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การขายปลีก ลักษณะการขายแบบนี้มักเกิดจากฟาร์มไก่ไข่ที่อยู่ใกล้เมืองใหญ่
ใกล้แหล่งชุมชน หรืออยู่ใกล้ถนนใหญ่ ทั้งนี้เพราะว่าสามารถที่จะขายไข่ให้กับผู้บริโภคได้
และสามารถขายไข่ได้ในราคาที่สูง การขายไข่แบบนี้อาจทำได้โดยการนำไข่ไปวางขายในตลาดสด
ขายตามบ้าน หรืออาจมีบางฟาร์มที่ตั้งร้านขายไข่ไว้ริมถนนที่มีรถยนต์วิ่งผ่านไปมา
2. การขายส่ง ลักษณะการขายแบบนี้จะได้ราคาที่ต่ำกว่าการขายปลีก
การขายส่งอาจทำได้โดยการนำไข่ไปขายให้กับตลาดกลางไข่ไก่ หรือส่งขายตามร้านค้าขายปลีกหรือร้านค้าขายส่งในท้องถิ่นซึ่งอาจจะเป็นร้านขายอาหารสัตว์หรือร้านรวบรวมไข่ในท้องถิ่น
ราคาที่ขายได้จะขึ้นอยู่กับราคาตลาดในกรุงเทพฯ เป็นผู้กำหนด
3. การขายประกันราคา ผู้เลี้ยงไก่ไข่บางรายอาจขายไข่ในรูปของการทำสัญญากับบริษัทผลิตอาหารสัตว์
โดยที่บริษัทดังกล่าวจะขายพันธุ์ไก่ อาหารและยาสัตว์ให้ แล้วทางบริษัทจะรับซื้อไข่ทั้งหมดในราคาประกันตลอดทั้งปีที่ผู้เลี้ยงมีกำไรพอสมควร
และไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุนเมื่อราคาไข่ตกต่ำ
ราคาไข่ไก่ เช่นเดียวกับราคาผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ
ที่ผู้ผลิตไม่สามารถที่จะตั้งราคาได้เอง ราคาจึงขึ้นลงไม่แน่นอนตามปริมาณการผลิตและความต้องการของตลาด
ในปัจจุบันมีผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่ ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อควบคุมราคาไข่ไก่ให้อยู่ในระดับที่ไม่ขาดทุนได้
โดยระบายไข่ส่งออกไปยังตลาดประเทศกันเอง เช่นฮ่องกงในช่วงใดที่ปริมาณไข่ในประเทศเกินความต้องการ
แม้ว่าราคาไข่ไก่ในตลาดฮ่องกงจะตกต่ำก็ตามโดยที่กลุ่มผู้เลี้ยงยอมขาดทุนบ้างเพื่อดึงราคาไข่ไก่ในประเทศให้สูงขึ้น
ทั้งนี้เพราะกำไรที่ได้จากตลาดภายในประเทศย่อมมากกว่าตลาดต่างประเทศ
ซึ่งจะต้องแข่งขันกับไข่จากประเทศอื่นด้วย
นอกจากนี้ฤดูกาลก็มีอิทธิพลต่อราคาและความต้องการไข่ไก่ภายในประเทศ
ในทุกๆ ปี ช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ปริมาณไข่ในท้องตลาดจะมีปริมาณมาก ทั้งนี้เพราะมีไข่ไก่จากเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเข้ามารวมกับไข่ที่ผลิตจากฟาร์มไก่ไข่
จึงทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำ ประกอบกับเป็นช่วงที่สถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียนระหว่างเดือน
มีนาคม-พฤษภาคม ความต้องการไข่จึงลดลงไปด้วย แต่หลังจากเดือนมิถุนายนไปแล้ว
ราคาไข่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปี ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงหน้าฝนนี้ ไข่จากชนบทจะลดน้อยลงไปด้วย
จึงทำให้ปริมาณไข่ในตลาดลดลง ประกอบกับในช่วงปลายปีมักจะมีเทศกาลต่างๆ มากมาย เช่น
ปีใหม่ ไปจนถึงตรุษจีน จึงทำให้ความต้องการไข่มีปริมาณมากขึ้น เป็นผลให้ราคาค่อนข้างสูงในช่วงปลายปี
ตลาดไก่พื้นเมือง
ความนิยมของผู้บริโภคเนื้อไก่ส่วนใหญ่จะชอบบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองเนื่องจากเนื้อไก่มีรสชาติอร่อย
และไม่มีอันตรายจากยาหรือฮอร์โมนที่สะสมอยู่ในเนื้อไก่ จึงทำให้ราคาของไก่พื้นเมืองสูงมาโดยตลอด
ส่งผลให้ราคาไก่พื้นเมืองสูงกว่าไก่กระทงหรือไก่ประเภทอื่น ๆ ซึ่งแบ่งตลาดไก่พื้นเมืองแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ตลาดในหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองกันมาก
ๆ จะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงเล้า ไม่ต้องนำไปขายที่อื่น ซึ่งพ่อค้าก็จะนำไปส่งต่ออีกทีหนึ่ง
2. ตลาดท้องถิ่น เป็นตลาดที่อยู่ตามเมืองหรือแหล่งชุมชน
จะรวบรวมไก่จากพ่อค้าในหมู่บ้าน เพื่อนำไปส่งยังตลาดอื่นอีกทอดหนึ่งหรืออาจจะชำแหละจำหน่ายเอง
3. ตลาดกลาง ในที่นี้หมายถึงตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งจะรับซื้อไก่จากพ่อค้าท้องถิ่น เพื่อส่งให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงเฉพาะตรุษหรือสาร์ทจีน เช่น ที่ ตลาดคลองเตย ตลาดเยาวราช หรืออาจจะส่งพ่อค้าขายปลีกอีกทอดหนึ่ง ตลาดกลางนี้ราคาจะสูงมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาล ราคาประมาณ 60 บาทต่อกิโลกรัม
3. ตลาดกลาง ในที่นี้หมายถึงตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งจะรับซื้อไก่จากพ่อค้าท้องถิ่น เพื่อส่งให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงเฉพาะตรุษหรือสาร์ทจีน เช่น ที่ ตลาดคลองเตย ตลาดเยาวราช หรืออาจจะส่งพ่อค้าขายปลีกอีกทอดหนึ่ง ตลาดกลางนี้ราคาจะสูงมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาล ราคาประมาณ 60 บาทต่อกิโลกรัม
4. ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น
และออสเตรเลียมีความต้องการไก่พื้นเมืองของไทยมาก แต่ปริมาณการส่งออกยังไม่มากนัก ดังนั้นถ้าหากมีการขยายการผลิต
การส่งออกไก่พื้นเมืองก็จะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้สูง
ไก่พื้นเมืองที่แบ่งการรับซื้อตามชนิดของไก่พื้นเมืองออกเป็น 5 ชนิด ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกันไปตามชนิดของไก่ คือ
ไก่สาว
หมายถึง ไก่พื้นเมือง ตัวเมียยังไม่ไข่ มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม อ้วนสมบูรณ์ราคาจะสูงกว่าไก่ทุกชนิด โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีน
และสาร์ทจีนจะมีราคาสูงที่สุด

ภาพที่ 1.2 ไก่สาวพื้นเมือง
ไก่รุ่น หมายถึง
ไก่ตัวผู้ที่ยังไม่เป็นพ่อไก่หรือยังผสมพันธุ์ไม่เป็น มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ขึ้นไป ราคาต่ำกว่าไก่สาว
แม่ไก่ หมายถึง ไก่ตัวเมียที่ให้ไข่แล้ว
หรือมีลูกแล้วซึ่งถือว่าเป็นไก่แก่ ราคาต่ำกว่าไก่รุ่น
พ่อไก่ หมายถึง พ่อพันธุ์ที่ผสมพันธุ์แล้ว
หน้าแดง หงอนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นไก่แก่ ราคาจะเท่า ๆ กับแม่ไก่
ไก่ตอน หมายถึง ไก่ตัวผู้ที่ได้รับการตอนไม่ว่าจะเป็นแบบผ่าข้าง
หรือฝังยา ราคาจะแพงกว่าไก่สาว
ตลาดที่กล่าวมานี้เป็นตลาดที่สำหรับจำหน่ายไก่เพื่อการบริโภค
ไม่ได้เป็นการจำหน่ายเพื่อการ
ขยายพันธุ์
โดยเฉพาะไก่ชนแล้วจะจำหน่ายกันเป็นตัว ราคาขึ้นอยู่กับความสามารถในการตีของพ่อไก่ ซึ่งมีตั้งแต่ราคาถูกจนถึงราคาเป็นแสนบาท
ตลาดเป็ด
ตลาดเป็ด
การบริโภคเนื้อ
และไข่เป็ด มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไก่ เนื่องจากเนื้อและไข่เป็ดมีราคาแพงกว่า ประชาชนโดยทั่วไปไม่นิยมใช้เนื้อ
และไข่เป็ดประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน แต่นิยมซื้อในรูปของอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เช่น
เป็ดพะโล้ เป็ดย่าง ผลผลิตเป็ดเนื้อประมาณร้อยละ 65-70 จำหน่ายภายในประเทศ
และประมาณร้อยละ 30-35 ส่งออกในรูปเป็ดสดแช่แข็ง และเนื้อเป็ดแปรรูป
ตลาดส่งออกที่สำคัญคือเยอรมนีและญี่ปุ่น บริษัทเอกชนมีสัดส่วนการตลาดประมาณร้อยละ
80-85 ส่วน ที่เหลือประมาณร้อยละ 15-20 เป็นของผู้เลี้ยงเป็ดเนื้ออิสระ
(พ.ศ. 2550)
ตลาดและการจำหน่ายเป็ดขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลี้ยง
ในประเทศไทยแบ่งการเลี้ยงเป็ดออกเป็น 3 แบบ คือ แบบอิสระ
ประกันราคา และรับจ้างเลี้ยง
แบบอิสระ
ผู้เลี้ยงต้องลงทุนการผลิตเองทั้งหมด และมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนและราคาขาย
ผู้เลี้ยงจะจำหน่ายเป็ดด้วยตนเอง โดยเฉลี่ยจะมีกำไรจากการเลี้ยงเป็ดเนื้อ(ปี พ.ศ. 2550) ตัวละ
3.82 บาท
แบบประกันราคา
ผู้เลี้ยงลงทุนการผลิตบางส่วน เช่น ค่าพันธุ์เป็ด ค่าอาหารเป็ด ซึ่งจะลงทุนน้อยกว่าการเลี้ยงแบบอิสระ
ผู้เลี้ยงจำหน่ายเป็ดให้แก่คู่สัญญาที่รับประกันราคา โดยจะมีกำไรจากการเลี้ยงเป็ด(ปี พ.ศ. 2550) ตัวละ
1.31 บาท
แบบรับจ้างเลี้ยง
ผู้เลี้ยงไม่ต้องลงทุนเรื่องพันธ์ อาหาร และยา แต่การลงทุนสร้างโรงเรือนแบบเปิดหรือแบบปิด
เพียงอย่างเดียวจึงลงทุนน้อยกว่าแบบอิสระ และแบบประกันราคา ผู้เลี้ยงมีหน้าที่เลี้ยงอย่างเดียวโดยไม่ต้องจำหน่ายเป็ด
ซึ่งจะมีรายได้จากการเลี้ยงเป็ด(ปี พ.ศ.
2550) ตัวละ 0.60 บาท สำหรับโรงเรือนแบบเปิด และ1.24
บาท สำหรับโรงเรือนแบบปิด

ภาพที่
1.3 เป็ดเนื้อ
การวิเคราะห์อาชีพที่เกี่ยวกับการผลิตสัตว์ปีก
การเลี้ยงสัตว์ปีกโดยเฉพาะ
ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ นั้นในปัจจุบันมีการเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันที่เรียกว่า
การเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม และในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกนี้จะมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทในการเสริมและสนับสนุนด้วยมากมาย
เมื่อวิเคราะห์การผลิตไก่เนื้อและไก่ไข่พบว่ามีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์
อุตสาหกรรมการฟักไข่
อุตสาหกรรมเลี้ยงไก่เนื้อ
หรือเป็ดเนื้อ
อุตสาหกรรมเลี้ยงไก่ไข่
หรือเป็ดไข่
อุตสาหกรรมการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการผลิตไข่ผง (Dried
Egg)
วิถีการผลิตสัตว์ปีก
การผลิตสัตว์ปีกนับว่าได้รับการสนับสนุนทั้งจากหน่วยงานของทางราชการ
และเอกชน เช่นสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมปศุสัตว์
สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนรายใหญ่ โดยมีรูปแบบการผลิตสัตว์ปีก ดังแผนภูมิที่ 1.1 และ 1.2

แผนภูมิที่ 1.2
การเลี้ยงสัตว์ปีกแบบรับจ้างเลี้ยง

การวางแผนผลิตสัตว์ปีก
การทำฟาร์มโดยไม่มีแผนงาน
เป็นการดำเนินกิจการแบบไม่มีหลักการและจุดมุ่งหมาย โดยผู้ประกอบการไม่มีการศึกษาล่วงหน้าว่าจะทำอะไร
ที่ไหน อย่างไร จำนวนเท่าไร ได้ผลผลิตมากน้อยเท่าใด ซึ่งผลที่ได้รับจากการทำฟาร์มลักษณะนี้คือมีโอกาสขาดทุนสูง
การวางแผนฟาร์มเป็นการคาดคะเนการดำเนินการ
ปัญหาและอุปสรรค์ที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการปฏิบัติจริง ๆ โดยพยายามกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า
การวางแผนฟาร์มจึงเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานฟาร์มและการประเมินผลฟาร์ม เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติงานในฟาร์มให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โดยมีวิธีการวางแผนทำฟาร์มสัตว์ปีก
ดังต่อไปนี้
1. การตัดสินใจเลือกทำฟาร์มสัตว์ปีกแต่ละชนิด
หลังจากศึกษาข้อมูลเรื่องตลาดสัตว์ปีกแล้วควรศึกษาสภาพทั่วไปของธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกแต่ละชนิด
เจ้าของฟาร์มจะต้องพยายามศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของฟาร์ม
เช่น รูปแบบโรงเรือน รูปแบบของอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม รวมทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจ เช่น
การผลิตและต้นทุนการผลิตการค้า ระดับราคาแหล่งสินเชื่อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรมีความถูกต้อง
มีการประมวลและวิเคราะห์เพื่อประกอบในการตัดสินใจที่จะทำฟาร์มสัตว์ปีก
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการ
ถ้าเป็นโครงการที่ไม่ใหญ่มาก เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว และเงินลงทุน สามารถทำด้วยตนเอง
แต่ถ้าวางแผนงานฟาร์มขนาดใหญ่ควรร่วมลงทุนทำฟาร์มหลายคนที่มีแนวคิดเดียวกัน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงสัตว์ปีกมือใหม่ขอแนะนำให้ทำฟาร์มขนาดเล็กที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเองไปก่อน
3. สถานที่ทำโครงการ ที่ตั้งของฟาร์มต้องอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับสัตว์ที่เลี้ยง
และมีจำนวนพื้นที่เพียงพอ ตามลักษณะการสุขาภิบาลสัตว์ และควรเลือกพื้นที่ ที่สามารถขยายฟาร์มได้ในอนาคต
4. ระยะเวลาที่ทำโครงการ ระยะเวลาของการทำฟาร์ม
ส่วนมากเป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ปี หรือหรือมากกว่า 10
ปี สำหรับโครงการที่ต้องการขอกู้ยืมจากแหล่งสินเชื่อต่าง ๆ ให้กำหนด
วันสิ้นสุดโครงการคือวันที่ชำละเงินกู้งวดสุดท้าย
5. วัตถุประสงค์โครงการ เป็นข้อมูลรายละเอียดที่เจ้าของฟาร์มต้องการให้เกิดขึ้นในการทำกิจการการในครั้งนี้
เช่น เพื่อผลิตไข่ไก่ปลอดสารพิษจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และส่งออกต่างประเทศ
6. เป้าหมายของโครงการ
เป็นข้อมูลตัวเลขแสดงจำนวนการผลิต และผลผลิตของโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น
“เป้าหมายโครงการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 20,000 ตัว
เพื่อผลิตไข่ จำนวน 100,000 ฟองต่อสัปดาห์ ความเป็นจริง ควรมีการกำหนดกิจกรรมซึ่งต้องปฏิบัติให้ชัดเจนเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน
และง่ายต่อการทบทวนและตรวจสอบงาน ทั้งด้านบุคลากร การเงิน การตลาด โดยกำหนดเวลาว่าทำเมื่อไรตัวอย่างเช่นการทำโครงการเลี้ยงไก่ไข่
เขียนการดำเนินงานได้ดังนี้
ตารางที่ 1.1 แสดงการดำเนินงานโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
|
ม.ค.-มี.ค.
|
เม.ย.-มิ.ย.
|
ก.ค.-ก.ย.
|
ต.ค.-ธ.ค.
|
ม.ค-ธ.ค.
|
|||||||||||||||
1. หาแหล่งเงินทุน
2. สร้างฟาร์ม
3. จัดหาพันธุ์ ไก่
4. จัดการเลี้ยงดู
5. จำหน่ายผลผลิตไข่
6. สรุปผลโครงการ
7…………… 8………………… |
![]() |
![]() |
|
|
![]() |
|||||||||||||||
8. งบประมาณที่ใช้ เป็นรายละเอียดจำนวนวัสดุอุปกรณ์
ที่ดินสิ่งก่อสร้าง ค่าแรง และอื่น ๆ ที่กำหนดราคาต่อหน่วย ราคารวมทั้งหมด ตามความเป็นจริง
ดังตัวอย่างการเขียนงบประมาณที่ใช้ทำโครงการเลี้ยงไก่เนื้อจำนวน 20,000 ตัว
ตารางที่ 1.2 แสดงงบประมาณโครงการ
รายการวัสดุอุปกรณ์
|
จำนวน
|
ราคา/หน่วย
|
ราคา(บาท)
|
1.ที่ดินสิ่งก่อสร้างโรงเรือนไก่เนื้อ
2. ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหาร
2. ค่าลูกไก่
3. ค่าอาหารไก่เนื้อ
4. ยา วัคซีน
5. อื่น ๆ
|
2 หลัง
2 ชุด
20,000
ตัว
80,000
ก.ก
50,000
โด๊ส
|
400,000
100,000
8.00
10.00
1.00
|
800,000
200,000
160,000
800,000
50,000
15,000
|
รวม
|
2,025,000
|
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดการณ์ผลที่ได้หลังสิ้นสุดโครงการหรือจำนวนผลผลิตจากการทำโครงการ
ซึ่งเป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นจำนวนเงินที่จำหน่ายผลผลิตของฟาร์ม(รูปธรรม)และประโยชน์ที่ได้รับด้านสังคม(นามธรรม) เช่น สามารถสร้างแรงงานให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตั้งฟาร์ม
การกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับต้องสัมพันธ์กับเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น “ จำหน่ายไข่ไก่ จำนวน 100,000 ฟอง /สัปดาห์ จำหน่ายราคาฟองละ 1.80 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
18,000 บาท/สัปดาห์”
10. ปัญหาอุปสรรค โครงการควรคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตระหว่างดำเนินงานว่าน่าจะมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง
เพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหาไว้หากเกิดปัญหาขึ้นมาจริง เช่นปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาโรคไข้หวัดนก
หรือภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่มีผลกระทบกับตลาดสัตว์ปีก
การทำแผนหรือโครงการทำฟาร์มที่ดีต้องมีข้อมูลรายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริง
ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ถ้าเป็นการคาดการณ์ควรใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงจะบรรลุตามวัตถุประสงค์
และเป้าหมายของโครงการ สำหรับการดำเนินกิจการงานฟาร์มสัตว์ปีกบางครั้งต้องมีการปรับแผน
ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการเช่นเดียวกัน
ปัจจัยที่มีพลต่อการทำฟาร์ม
1. ปัจจัยการผลิต (Factors of
Production) ที่สำคัญได้แก่ ที่ดินหรือผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า
ค่าเช่า แรงงานหรือผลตอบแทนจากการใช้แรงงานเรียกว่า ค่าจ้าง และทุนได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือ
สิ่งก่อสร้าง เช่น โรงเรือน ผลตอบแทนจากการใช้ทุนเรียกว่า ค่าดอกเบี้ย การประกอบการ
ผลตอบแทนจากการประกอบการเรียกว่า กำไร สำหรับปัจจัยการผลิตที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ได้
คือ ปัจจัยคงที่ (Fixed Factor) เช่น ที่ดิน โรงเรือน และปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ได้
คือปัจจัยผันแปร(Variable Factor) เช่นพันธุ์สัตว์ปีก แรงงาน
อาหาร ยาและวัคซีน
2. ค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา
(Depreciation) ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ไม่เป็นตัวเงินวิธีการหาค่าสึกหรอมี
3 วิธีหลัก ๆ คือ วิธีคิดแบบเส้นตรง (Straight Line Method) วิธีคิดโดยหักเป็นอัตราส่วนลดจำนวนคงที่เท่ากันทุกปี (Declining
Balance Method) และวิธีคิดเป็นมูลค่าที่ลดลงเท่ากันทุกปี
(The Sum Of The Years Digit Method) ประโยชน์ในการหาค่าสึกหรอ คือ ทราบมูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบันนำไปใช้คำนวณหาผลตอบแทนในการลงทุนได้
การคำนวณต้นทุนการผลิต
การคำนวณต้นทุนการผลิตนับว่าจำเป็นสำหรับการประกอบธุรกิจทุกกิจการ
เพราะจะทำให้เราทราบถึงประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะลงทุน และทราบต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วยของเราว่าจะมีราคาประมาณเท่าไหร่
เราลงมือที่จะผลิตสินค้านั้น ๆ แข่งขันกับสินค้าชนิดเดียวกันได้แค่ไหน สินค้า
ของเราสามารถจะขายได้คุ้มทุนหรือไม่ ซึ่งในการเลี้ยงไก่ก็เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่กระทงหรือไก่ไข่ก็ตาม เราต้องศึกษาถึงการประกอบธุรกิจแต่ละชนิดว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนอกจากนั้นยังต้องศึกษาถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของตลาดสินค้าสัตว์ปีกนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกรผลิต
ของเราสามารถจะขายได้คุ้มทุนหรือไม่ ซึ่งในการเลี้ยงไก่ก็เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่กระทงหรือไก่ไข่ก็ตาม เราต้องศึกษาถึงการประกอบธุรกิจแต่ละชนิดว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนอกจากนั้นยังต้องศึกษาถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของตลาดสินค้าสัตว์ปีกนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกรผลิต
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตในเชิงธุรกิจ
ซึ่งต้องคิดต้นทุนทั้งหมดที่เป็นค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาส ไม่ว่าจะเป็นค่าดอกเบี้ยเงินกู้
ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งพอจะกล่าวเป็นแนวทางได้ดังต่อไปนี้
1. ค่าโรงเรือน อุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง
ๆ การคิดต้นทุนค่าโรงเรือนจะคิดในแง่ของค่าเสื่อมราคา ซึ่งจะเกี่ยวกับอายุการใช้งานยาวนานแค่ไหน
การลงทุนค่าก่อสร้างเริ่มต้นและสภาพของโรงเรือน
2. ค่าอาหารสัตว์ปีก เป็นค่าใช้จ่ายประมาณ
65-80 เปอร์เซ็นต์ของทุนหมุนเวียนความต้องปริมาณอาหารและราคาของอาหารแต่ละชนิด
3. พันธุ์สัตว์ปีก เป็นค่าซื้อพันธุ์สัตว์ปีกต่าง
ๆ เช่นไก่กระทง ไก่ไข่ ไก่พ่อ-แม่พันธุ์ เป็ด ห่าน เป็นต้น โดยนำเอาค่าใช้จ่ายในการซื้อพันธุ์มาคิด
4. ค่าแรงงาน สามารถคำนวณหาได้จากความสามารถของคน
1 คนที่สามารถเลี้ยงสัตว์ปีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะมากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
เช่น ชนิดของสัตว์ปีก ชนิดของอุปกรณ์การเลี้ยง บางชนิดประหยัดแรงงาน เช่น อุปกรณ์อัตโนมัติต่าง
ๆ ชนิดของโรงเรือน และอัตราค่าจ้างต่อวัน
ความสามารถของคน 1 คนที่เลี้ยงไก่ได้
: วัน
ชนิดของไก่ อุปกรณ์แบบธรรมดา อุปกรณ์อัตโนมัติ
ชนิดของไก่ อุปกรณ์แบบธรรมดา อุปกรณ์อัตโนมัติ
ไก่กระทง
4,000-5,000
ตัว/คน 8,000-10,000 ตัว/คน
ไก่ไข่ 2,500-3,000
ตัว/คน 3,500-4,000 ตัว/คน
ไก่พ่อ-แม่พันธุ์ 2,000-2,500 ตัว/คน 3,000-4,000 ตัว/คน
ไก่พ่อ-แม่พันธุ์ 2,000-2,500 ตัว/คน 3,000-4,000 ตัว/คน
5. ค่าวัสดุรองพื้นหรือรองนอน โดยเฉพาะการดลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยพื้นจำเป็นต้องใช้วัสดุรองพื้นหรือรองนอนเพื่อให้พื้นนุ่มและดูดซับให้มูลไก่แห้ง
เช่น ขี้กบ แกลบ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงไก่แบบพื้นระแนงหรือเลี้ยงในกรงก็ตัดปัญหาค่าใช้จ่ายวัสดุรองพื้นได้
6. ค่ายาและวัคซีน แต่ละฟาร์มอาจจะมีต้นทุนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับราคาและโปรแกรมการให้ยาและวัคซีน
แต่อย่างไรก็ตามในสภาวะปกติค่าใช้จ่ายหมวดนี้ก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก
7. ค่าภาษีที่ดิน คิดตามอัตราการเสียภาษีที่ดินตามราคาประเมินและประเภทของธุรกิจ
การใช้ประโยชน์
8. ค่าพลังงานความร้อนและแสงสว่าง มักจะใช้พลังงานแก๊สและไฟฟ้าในการกกลูกไก่และให้แสงสว่างในโรงเรือนแดละในฟาร์ม ดังนี้
8. ค่าพลังงานความร้อนและแสงสว่าง มักจะใช้พลังงานแก๊สและไฟฟ้าในการกกลูกไก่และให้แสงสว่างในโรงเรือนแดละในฟาร์ม ดังนี้
8.1 ค่าแก๊ส ปกติการใช้แก๊สเพื่อกกลูกไก่นับว่าเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
เพราะราคาถูกและสะดวกในการใช้ ปริมาณแก๊สที่กกประมาณ ดังนี้
ปริมาณแก๊ส
ต่อจำนวนไก่ 3,000 ตัว
ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
24 กก. 40-48 กก. 72-96 กก.
8.2 ค่าไฟฟ้า ค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับกก
(เครื่องกกไฟฟ้า) และค่าแสงสว่างคิดเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงตามอัตราการใช้เป็นหน่วยตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิเป็นผู้กำหนด
9. ค่าเสียโอกาส มักคิดให้ในกรณีตัวเองเป็นเจ้าของ
เช่นเงินสดที่เรามีโดยไม่ได้ไปกู้ยืมมาเมื่อนำมาลงทุน ควรคิดค่าเสียโอกาสเป็นดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากของธนาคาร
นอกจากนี้ยังมีค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดินเรามักจะคิดให้เป็นอัตราค่าเช่า ในกรณีที่เราไปเช่าที่ดินมาทำฟาร์มเลี้ยงไก่
แต่ในความเป็นจริงที่ดินมักจะเป็นของเจ้าของฟาร์มมากกว่า แต่เราควรคิดค่าเสียโอกาสให้ด้วยเป็นค่าเช่า
เพราะถ้าเราไม่ทำฟาร์มเลี้ยงไก่ก็อาจจะให้คนอื่นเช่าทำกิจการอื่นได้
10. ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์ โดยคิดเป็นรายปีตามอายุการใช้งาน ปกติจะเป็นค่าโรงเรือนอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง
ๆ ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ระยะการผลิต
11. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่นค่าซ่อมแซม การบริการต่าง ๆ
12. ดอกเบี้ย(Interest)
คิดจากเงินลงทุนยกเว้นที่ดิน เพราะที่ดินไม่มีค่าเสื่อมแต่ยิ่งนานราคายิ่งแพงขึ้น
การคิดดอกเบี้ยมี 2 กรณีคือถ้ากู้มาลงทุนคิดดอกเบี้ยตามแหล่งเงินกู้
แต่ถ้าใช้เงินสดลงทุนคิดดอกเบี้ยที่ได้จากเงินที่ลงทุน ถ้านำมาฝากธนาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น